เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
3.อุรุเวลวรรค 10.ปริพพาชกสูตร

พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์นั้น
จงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นจัก
บอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
ว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสมาธิที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้น
จักบอกคืนสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดสำคัญธรรมบท 4 ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ1 4 ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน
ฐานะ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ถ้าติเตียน คัดค้านอนภิชฌาที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม
ทั้งหลาย
2. ถ้าติเตียน คัดค้านอพยาบาทที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิต
ชั่วร้าย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
3.อุรุเวลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

3. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสติที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
4. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้
บูชาสรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง
บุคคลใดสำคัญธรรมบท 4 ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ 4 ประการพร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบท เป็นอเหตุกวาทะ1
อกิริยวาทะ2 นัตถิกวาทะ3 สำคัญธรรมบท 4 ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควร
คัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวการนินทา การกระทบกระทั่ง และการ
กล่าวให้ร้าย”
บุคคลผู้ไม่พยาบาท
มีสติทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นดีภายใน
ผู้ศึกษาในธรรมเป็นเครื่องกำจัดอภิชฌา
เราเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท

ปริพพาชกสูตรที่ 10 จบ
อุรุเวลวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมอุรุเวลสูตร 2. ทุติยอุรุเวลสูตร
3. โลกสูตร 4. กาฬการามสูตร
5. พรหมจริยสูตร 6. กุหสูตร
7. สันตุฏฐิสูตร 8. อริยวังสสูตร
9. ธัมมปทสูตร 10. ปริพพาชกสูตร